http://www.toodong.com

 หน้าแรก

ความเป็นมาของศูนย์บริขาร

ความรู้ทั่วไป

 ติดต่อทางร้าน

 รวมรูปภาพ

สินค้าของศูนย์บริขารธุดงค์ทุกชิ้น เกิดจากความตั้งใจที่จะให้พระสงฆ์มีสินค้าที่เหมาะสมใช้ เพราะทางศูนย์บริขารธุดงค์เล็งเห็นว่าของใช้ต่างๆที่พระสงฆ์ท่านใช้งานนั้นยังต้องมีการปรับปรุงอีกมาก โดยสินค้าชิ้นแรกที่นำมาปรับปรุงอย่างแรกก็คือ
กลด
พระสงฆ์นั้น เมื่อพ้นช่วงเข้าพรรษาแล้ว ก็จะออกธุดงค์ไปปฏิบัติธรรมตามสถานที่ต่างๆ กลด จึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญยิ่งที่จะช่วยคุ้มฝน บังแดด แต่ทว่ากลดที่ท่านใช้ในตอนนั้นมีขนาดใหญ่ (รูปร่างเหมือนสัปทน ที่ใช้กางให้นาคเวลาแห่ก่อนเข้าโบสถ์) มีด้ามเป็นไม้ยาว น้ำหนักมาก เวลากางกลดก็ต้องใช้ด้ามกลดปักลงไปในดิน ให้แน่นพอที่กลดจะตั้งตรงได้ แล้วจึงเอามุ้งมาครอบกันแมลง ถ้าพื้นดินบริเวณแข็ง ก็ลำบากมากกว่าจะปักลงได้ คำว่า “ปักกลด” นั้นบอกกิริยานี้ได้อย่างชัดเจน
ศูนย์บริขารธุดงค์จึงคิดว่า น่าจะทำกลดให้เล็กลง ใช้แขวนแทนการปัก เพราะตามป่านั้นมีต้นไม้มากมาย ที่แขวนหาได้ไม่ยาก ดังนั้นจึงกลายมาเป็นกลดอลูมิเนียมพับได้อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
กลดอลูมิเนียมพับได้คันแรกสร้างขึ้น นำไปถวายหลวงพ่อสมชาย ปุญญมโน วัดป่าสว่างบุญ จ.สระบุรี จากนั้น หลวงพ่อสมชาย ก็นำกลดคันดังกล่าว ถวายแด่หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฎโฐ วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่
จนถึงบัดนี้ กลดอลูมิเนียมถูกยอมรับเป็นเวลา 25 ปีมาแล้ว  เพราะขนาดที่กะทัดรัด พกพาได้ง่าย มีความทนทานกว่ากลดไม้สมัยก่อนมาก สามารถซ่อมแซมได้ทุกส่วน ต่างจากกลดไม้ ที่เมื่อหักแล้วก็ต้องเปลี่ยนคันไปเลย กลดไม้ไม่สามารถซ่อมได้
เมื่อประดิษฐ์กลดอลูมิเนียมได้สำเร็จแล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องปรับปรุงก็คือ
ผ้าไตร
ผ้าไตรที่มีขายตามร้านสังฆภัณฑ์ทั่วๆไปนั้น มีสิ่งที่ต้องให้ปรับปรุงมากมาย เพราะโดยทั่วไปนั้นดูเหมือนว่าผ้าไตรเหล่านั้นจะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ “ใช้ทำพิธี” มากกว่าจะมา “ใช้งาน” เช่น ต้องการซื้อผ้าไตรไปถวายสังฆทาน ร้านทั่วๆไปก็จะยกมาให้ชุดหนึ่ง ท่านเองก็ได้ผ้าไตรไปถวายพระแต่จะพระรับไปแล้วจะใช้ได้หรือไม่นั้น ผู้ถวายย่อมไม่อาจทราบได้ หากจะยกตัวอย่างว่าทำไมผ้าไตรทั่วไปถึงเป็นปัญหาที่ต้องปรับปรุง เพราะในปัจจุบันเราก็เห็นพระท่านใช้ผ้าไตรแบบที่ว่ากันโดยทั่วไป คำตอบหนึ่งสำหรับเรื่องนี้ก็คือ ท่านไม่มีแบบอื่นให้เลือก และอีกอย่างเมื่อมีคนมาถวายท่านจะไม่รับก็ดูกระไร ท่านจึงจำเป็นต้องรับและใช้ อย่างเลือกไม่ได้ หรืออีกตัวอย่างเป็น เรื่องที่คนทั่วไปมักไม่ค่อยรู้กันก็คือ เรื่องวินัยของพระสงฆ์ ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติไว้  จีวรที่พระท่านใช้นั้น เกิดจากการนำผ้าหลายชิ้นหลายขนาดนำมาเย็บต่อกัน (ภาษาพระเรียกว่า “ขัณฑ์”) จนเป็นจีวรเต็มผืน ถ้าลองสังเกตจีวรให้ดีจะเห็นเป็นเส้นแนวตะเข็บอยู่ทั่วผืน แนวตะเข็บนั้นคือรอยต่อของผ้าแต่ละชิ้น แต่จีวรโดยทั่วไปนั้นมักจะใช้วิธีพับผ้าให้เป็นแนวเล็กๆแล้วเย็บทับลงบนแนวผ้าที่พับไว้ ซึ่งมองดูแล้วคล้ายกับรอยต่อของผ้า ซึ่งวิธีการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า “ล้มตะเข็บ” ดั้งนั้นอาจกล่าวได้ว่า จีวรโดยทั่วไปจึงไม่ถูกต้องตามพระวินัย หากจะถามต่อไปว่าเมื่อไม่ถูกต้องตามพระวินัยแล้วพระท่านใช้ได้อย่างไร คำตอบก็มีอย่างเดียวคือ ท่านก็ต้อง ปลงอาบัติ อยู่เสมอๆ แต่ทางออกที่ดีที่สุดก็คือการทำให้ถูกต้องตามพระวินัยที่พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติไว้ ดังนั้นศูนย์บริขารธุดงค์จึงได้เย็บจีวร 9 ขัณฑ์ออกมาเพื่อให้พระท่านได้ใช้จีวรที่ถูกต้องตามพระวินัย ส่วนที่ศูนย์บริขารธุดงค์เลือก 9 ขัณฑ์นั้นก็ยึดถือตามตำราโบราณ สมุดข่อยที่ค้นคว้ามาได้ นำมาเป็นแบบอย่าง
อีกปัญหาหนึ่งก็คือ ขนาดของจีวรก็ไม่ได้สัดส่วนกับรูปร่าง แต่เดิมนั้นจีวรไม่ได้มีขนาดตามแบบที่เป็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ จีวรส่วนใหญ่ขนาดของผ้ามักไม่เกิน 190 x270 ซ.ม.ซึ่งถือว่าเป็นขนาดที่เล็กเกินไปทั้งความสูงและความกว้าง เมื่อเทียบกับรูปร่างของคนชายไทยซึ่งอยู่ที่ 169.4 ซ.ม.ทางศูนย์บริขารธุดงค์ จึงสร้างมาตรฐานขนาดของจีวรออกมาเป็นเจ้าแรกโดยเริ่มที่ขนาด 190x300 ซ.ม. และเพิ่มขึ้นทุกด้านๆละ 10 ซ.ม. เพื่อให้สมส่วนกับรูปร่าง คือ 200x300 ซ.ม. 210x320 ซ.ม. 220x330 ซ.ม. เป็นขนาดมาตรฐานของการตัดเย็บ ให้เหมาะต่างขนาดรูปร่างของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน และมาตรฐานนี้จึงกลาย เป็นต้นแบบที่ร้านอื่นๆ ยึดถือเป็นหลัก
 ส่วนเรื่องเล็กๆน้อยๆ อื่นๆ ทางศูนย์บริขารธุดงค์ก็ไม่ได้ละเลย เช่นเรื่องการเลือกใช้เนื้อผ้าคุณภาพดี  การคัดสรรโรงงานย้อมผ้าฝีมือดี การสรรหาสีย้อมที่ติดผ้าทนนาน ฝีมือการเย็บที่ประณีตสวยงาม สิ่งเล็กน้อยเหล่านี้ศูนย์บริขารธุดงค์ นำมาปรับปรุง แก้ไข ให้ดีขี้นเพื่อให้สินค้านั้นเหมาะสมและคู่ควรกับการนำไปถวายพระผู้ที่เราเคารพนับถือ พระผู้ปฏิบัติดีประฏิบัติชอบ
    สบง
ปัญหาที่สำคัญที่สุดของผ้าสบงก็คือ ร้านทั่วๆไปมักจะเลือกใช้ผ้าที่บางเกินไปมาตัดเย็บเป็นสบง ทำให้ดูโป๊ น่าเกลียด และปัญหาอีกอย่างก็คือ สบงมักจะสั้นเกินไป เนื่องจากวิธีการนุ่งสบงก็คือนำผ้าสบงคาดจากด้านหลัง แล้วพับผ้าสบงเป็นจีบใหญ่ๆ เข้ามาหาตัว แล้วมาแปะไว้ด้านหน้า หากสบงสั้นเกินไปท่านก็จะพับจีบได้ไม่กี่ทบ ฉะนั้นเวลานั่ง จีบสบงจะแหวกออกได้ง่าย สบงเป็นผ้าที่รองรับการบดถูของร่างกายเมื่อยามเคลื่อนไหวไปบนที่นั่ง ศูนย์บริขารธุดงค์จึงออกแบบตะเข็บการเย็บสบงให้ทนทานต่อเรื่องนี้ ทำให้ไม่ขาดง่าย  และด้วยตะเข็บแบบที่เป็นของศูนย์บริขารที่คิดขึ้นมานั้น ทำให้สบงสามารถนุ่งได้ทั้ง 2 ด้าน ทั้งด้านใน และด้านนอก แตกต่างจากสบงทั่วไปที่นุ่งได้ด้านเดียว หากนุ่งผิดด้านก็จะเหมือนนุ่งผ้ากลับตะเข็บ

view

บริการ

แบบกุฎิ

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

สถิติ

เปิดเว็บ13/08/2008
อัพเดท19/03/2024
ผู้เข้าชม2,060,658
เปิดเพจ3,603,162
สินค้าทั้งหมด48
ติดต่อเรา

 หน้าแรก

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

view